ปัจฉิมนิเทศนักเรียน
ประจำปีการศึกษา 2567
โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา
เข้ารับพระราชทานป้ายสวนพฤกษศาสตรโรงเรียน
โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา
ผ่านการรับรองสถานศึกษา “คุณภาพพิเศษ แห่ง สพฐ.” (OBEC Special)
26 มิถุนายน
วันสุนทรภู่
พิธีไหว้ครู
ปีการศึกษา 2567
ประชุมผู้ปกครอง
ปีการศึกษา 2567
ทำบุญตักบาตร เนื่องในโอกาส
วันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน ครบรอบ 49 ปี
ปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ ม.1 และ ม.4
ปีการศึกษา 2567
7 มีนาคม 2567
พิธีปัจฉิมนิเทศ ม.3 และ ม.6 ปีการศึกษา 2566
22 กุมภาพันธ์ 2567
ประเมินโครงการอิ่มท้องสมองใส ปี 4

ขอเชิญร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเจริญพระชนมายุ ๒๖,๔๖๙ วัน เป็นสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี ๑๔ มกราคม ๒๕๖๘

พระราชกรณียกิจรัชกาลที่ ๑๐

 1. ด้านการศึกษา

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชทรัพย์ร่วมสนับสนุนให้กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร 6 แห่ง ทรงรับโรงเรียนไว้ในพระราชูปถัมภ์ พระราชทานวัสดุอุปกรณ์การศึกษาที่ทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ วิดีทัศน์ และในด้านการอุดมศึกษา

2. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงตระหนักว่าสุขภาพพลานามัยอันดีของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างสรรค์ทรัพยากรบุคคล จึงทรงสนพระราชหฤทัยในการประกอบพระราชกณียกิจ เช่น เมื่อรัฐบาลได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่งทั่วประเทศ พระองค์ก็ได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดโรงพยาบาลทุกแห่งและทรงเยี่ยมโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนให้มีอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย

3. ด้านสังคมสงเคราะห์

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาห่วงใยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนที่ด้อยโอกาส ได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมชุมชนแออัดของกรุงเทพฯ หลายแห่ง เช่น ชุมชนแออัดพระโขนง เขตคลองเตย เขตยานนาวา พระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนโครงการของชุมชน เช่น โครงการพัฒนาเด็กเล็กที่ขาดแคลน โครงการปราบปรามยาเสพติด

4. ด้านการต่างประเทศ

ทรงเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยือนมิตรประเทศทั่วทุกทวีป เช่น ประเทศอิตาลี สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น อิหร่าน เนปาล สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สาธารณรัฐเปรู ออสเตรเลีย สิงคโปร์ นอกจากจะมุ่งเจริญสัมพันธไมตรีแล้ว ยังทรงสนพระราชหฤทัยในการทอดพระเนตรและศึกษากิจการต่างๆ ที่จะทรงนำประโยชน์มาใช้ในการพัฒนาประเทศไทย เช่น เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมชมกิจการทหาร ศิลปวัฒนธรรม อุตสาหกรรมและความเป็นอยู่ของประชาชน

5. ด้านเกษตรกรรม

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและวัชพืชอื่น ๆ เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อพระราชทานแก่เกษตรกร สำหรับนำไปใช้ในการเพาะปลูกเป็นการเพิ่มผลผลิต ที่บ้านแหลมสะแก ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2528 นอกจากนี้ยังทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อส่งเสริมกิจการด้านเกษตรกรรม เช่น เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชพิธีพืชมงคล

6. ด้านพระศาสนา

ทรงเสด็จฯ แทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางศาสนาเป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล รวมถึงการเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานถ้วยรางวัล การทดสอบการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านระดับประเทศ

7. ด้านการกีฬา

ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้จัดงานกิจกรรมปั่นจักรยาน “Bike อุ่นไอรัก” ในงาน “อุ่น ไอรัก คลายความหนาว สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์” ทรงพระราชทานเสื้อสำหรับใส่ปั่นจักรยาน และน้ำดื่มพระราชทาน ให้กับประชาชนผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม และทรงนำประชาชนปั่นจักรยาน “Bike อุ่นไอรัก” เส้นทางพระลานพระราชวังดุสิต – สวนสุขภาพลัดโพธิ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ รวมระยะทางไปกลับ 39 กม. กำหนดจัดขึ้นเวลา 15.00 น. ในวันที่ 9 ธ.ค. 2561 โดยกิจกรรมนี้พระราชานุญาตให้จัดขึ้นเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกัน อีกทั้งผู้ที่ร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานยังแสดงให้เห็นการรวมพลังความสามัคคีของคนไทยทั้งชาติ และเห็นความสำคัญในการออกกำลังกายและส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์

8. ด้านการทหาร

ทรงสนพระราชหฤทัยในวิทยาการด้านการทหารมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ นอกจากทรงรับการศึกษาด้านการทหารจากประเทศออสเตรเลียแล้ว ยังทรงพระวิริยะอุตสาหะเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในด้านวิทยาการการบิน ทรงรับราชการทหารมาโดยตลอดตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.2518 และทรงดำรงพระยศทางทหารของ 3 เหล่าทัพ คือ พล.อ. พล.ร.อ. พล.อ.อ. โดยทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่เขาล้าน จ.ตราด อีกทั้งยังเสด็จพระราชดำเนินไปในพิธีการด้านทหาร อาทิ งานวันราชวัลลภ

9. ด้านการบิน

พ.ศ. 2552 ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 เครื่องบินโบอิ้ง 737–400 ในเที่ยวบินสายใยรักแห่งครอบครัว ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์ สำหรับโรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, (เที่ยวบินที่ ทีจี 8870 (กรุงเทพมหานครถึงจังหวัดเชียงใหม่) และเที่ยวบินที่ ทีจี 8871 (จังหวัดเชียงใหม่ถึงกรุงเทพมหานคร)

10. ด้านราชการ

9 มกราคม พ.ศ. 2535 – ปัจจุบัน ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด ปัจจุบันคือ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เป็นส่วนราชการในพระองค์

ฟอร์มติดต่อ

รายละเอียดฟอร์ม